STOICISM รับมือกับโลกยุคใหม่ด้วยวิถีทางดั้งเดิม

Published : ธันวาคม 2, 2022 | Blog | Editor :

“ฉันชอบความง่ายและความจริงใจในการที่จะอธิบายปรัชญาสโตอิกด้วยสำนวนปัจจุบัน การเขียนนั้นเรียบง่ายและจะเชื่อมโยงกับคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันได้ไม่ยาก หนังสือเล่มนี้คือหนังสือสำหรับทั้งผู้ที่สนใจในปรัชญาและคนที่กำลังหาวิธีพัฒนาตนเอง มันช่วยได้มากทีเดียว” — Gisela Dixon

หากคุณเป็นคนที่สนใจในปรัชญาต่างๆ ของโลก ไม่ว่าจะเป็น อิคิไก, เต๋า, นุนชี่, ลากอม หรือฮุกกะ คุณต้องไม่พลาด “สโตอิก” ปรัชญาจากกรีกที่ชาวตะวันตกกำลังให้ความสนใจมากที่สุดในตอนนี้

แม้สโตอิกจะเป็นปรัชญากรีกโบราณที่ถือกำเนิดราวปี 301 ก่อนคริสต์ศักราช แต่กับโลกยุคใหม่อันสับสนวุ่นวายนี้ หนทางที่เราจะรับมือได้อาจด้วยการนำภูมิปัญญาจากสโตอิกมาใช้อีกครั้ง เรื่องราวปรัชญาสโตอิกกลับมาเป็นที่สนใจของชาวตะวันตกมาพักใหญ่ๆ แล้ว และตอนนี้ก็เริ่มแพร่หลายมาถึงโลกตะวันออก 

ด้วยแนวทางที่เข้าใจง่ายและการตั้งคำถามที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิต เช่น เราจะหาความสุขได้จากที่ไหน ความเข้มแข็งอยู่ที่ใด จะกำราบความกลัวได้อย่างไร หรือจะจัดการกับความคิดที่พรั่งพรูได้อย่างไร สโตอิกจะชวนให้คุณใช้ปัญญาและความกล้าหาญเผชิญหน้ากับปัญหาและความหวาดกลัวต่อสิ่งต่างๆ อย่างภาคภูมิ

“สโตอิก ปรัชญาเสริมแกร่งเพื่อชีวิตไม่สั่นคลอน” (The Little Book of Stoicism) จะพาคุณไปทำความรู้จักสโตอิก ปรัชญาที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง จากชาวกรีกทุกชนชั้น และถูกนำไปใช้เป็นหลักในการปกครองทั้งประชาชนและตนเองโดยจักรพรรดิโรมัน มาร์คัส ออเรเลียส แล้วคุณจะพบว่าปรัชญาเก่าแก่ที่พยายามสร้างชีวิตที่เต็มเปี่ยมด้วยความสุขและความหมายนั้นยังใช้งานได้ดีในวิถีแห่งปัจจุบัน

หนังสือเล่มนี้คือแผ่นที่ล่าขุมทรัพย์ ที่จะนำพาคุณไปรู้จักกับนักปรัชญาชั้นนำและช่วยทำให้คุณเข้าใจภาพรวมของปรัชญานี้ได้อย่างง่ายดาย มีเนื้อหาที่สอนหลักการอันเป็นแก่นสำคัญ และมอบแบบฝึกปรัชญาสโตอิก 55 เรื่อง พร้อมทั้งแนวทางที่คุณจะนำเรื่องราวในหนังสือไปปรับใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง

✔สามเหลี่ยมความสุขของปรัชญาสโตอิก การใช้ชีวิตให้มีความสุขและเคลื่อนไปอย่างราบรื่นที่สุด ผ่านการเผยตัวตนด้านที่ดีงามสูงสุดของตัวเองออกมาในทุกชั่วขณะ, สนใจในสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ สิ่งที่เป็นไปแล้วเราทำได้แค่ยอมรับ, รับผิดชอบต่อชีวิตตัวเอง ไม่ว่าชีวิตจะพบเจอกับสุขหรือทุกข์

✔ศิลปะแห่งการยอมรับความจริงนั้นเกี่ยวข้องกับความเต็มใจที่จะยอมรับเหตุการณ์จากภายนอก ยอมรับแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะมองว่าความจริงนี้มันเลวร้ายก็ตาม

✔คุณไม่จำเป็นต้องทำตัวโลกสวย เพราะสิ่งเลวร้ายนั้นเกิดขึ้นอยู่ทุกวัน แต่การแสดงให้เห็นว่าคุณมีทางเลือกเสมอ คุณเลือกได้ว่าจะเอาหัวมุดลงไปในทรายเมื่อสิ่งต่างๆ ไม่เข้าข้างคุณ หรือจะยืดอกขึ้นเพื่อมองหาโอกาสที่จะเติบโต

✔ครั้งต่อไปเมื่อคุณกล่าวคำอำลากับคนที่คุณรัก เตือนตัวเองเงียบๆ ด้วยว่า นี่อาจจะเป็นการจากลาครั้งสุดท้าย คุณจะยึดติดกับพวกเขาน้อยลง และถ้าคุณได้พบพวกเขาอีกครั้ง คุณจะเห็นคุณค่าของช่วงเวลาที่มีร่วมกันมากขึ้นกว่าเดิมฯลฯ

โยนาส ซัลซ์เกเบอร์ (Jonas Salzgeber) ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ คือชายหนุ่มชาวสวิตเซอร์แลนด์ผู้มุ่งมั่นที่จะเป็นคนที่ดีที่สุดที่จะเป็นได้ และในระหว่างเดินทางไปบนเส้นทางนั้น เขาก็ได้พบเข้ากับปรัชญาสโตอิกโดยบังเอิญ และมันก็ตรงจริตเขาอย่างที่สุด เพราะแก่นของปรัชญาที่นำไปใช้ได้จริงนี้มีเป้าหมายอยู่ที่การมีชีวิตที่มีความสุข แม้ในยามเผชิญหน้ากับความเลวร้าย

วิธีการเขียนที่อ่านเข้าใจง่ายของเขาได้ช่วยผู้คนในเรื่องที่สำคัญที่สุด นั่นคือ การนำปัญญาที่อยู่ในหน้าหนังสือไปใช้งานได้จริง โยนาสแบ่งปันปรัชญาสโตอิกที่เขาศึกษาเพื่อให้ผู้คนกลับมามีความมั่นใจและพร้อมที่จะรับมือกับทุกสิ่งที่ชีวิตโยนเข้าใส่

———————-

แท็ก


Related Content