การระบาดของ Fake News
Published : เมษายน 27, 2023 | Blog | Editor :

นับตั้งแต่ ค.ศ. 2016 ‘ข่าวปลอม’ (fake news) ได้กลายเป็นคำที่ใช้อย่างแพร่หลายเพื่ออธิบายถึงข้อมูลข่าวสารออนไลน์ที่มีไว้เพื่อครอบงำ เรเน ดิเรสตา นักวิจัยเทคโนโลยีได้ชี้ให้เห็นว่า ‘ข่าวปลอม’ มีหลายประเภท ดังนี้
– คลิกเบท (Clickbait) คือ ความพยายามล่อให้ผู้คนเข้ามาในหน้าเพจ ซึ่งมักมีลิงก์ที่นำไปสู่ข่าวจริงด้วย
– ทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy Theories) คือการนำเรื่องจริงมาดัดแปลงโดยมีการใส่สิ่งที่เรียกว่า ‘ความจริงลับ’ (secret truth) ซึ่งมักเป็นสิ่งที่เกินเลยความเป็นจริงเข้าไปด้วย หรืออาจมีการเสริมแต่งเรื่องราวเพื่อเพิ่มเติมให้ทฤษฎีซับซ้อนมากขึ้นอีก
– การให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง (Misinformation) คือเนื้อหาที่ถูกปลอมขึ้นมาอย่างจงใจแล้วถูกแชร์ออกไปโดยไม่ตั้งใจจากคนที่เชื่อว่ามันเป็นเรื่องจริง อาจรวมถึงข่าวลวงโลกและมีมเพื่อความขบขันด้วย
– การจงใจบิดเบือนข้อมูล (Disinformation) เป็นรูปแบบที่อันตรายที่สุดของข่าวปลอม มันคือการจงใจบิดเบือนข้อมูลเพื่อสร้างข้อขัดแย้งต่อความเห็นและลดทอนความมั่นใจในข่าวที่ถูกต้อง มันไม่ใช่การโน้มน้าวคุณให้เชื่อว่าข่าวเท็จเป็นข่าวจริง แต่มันจะทำให้คุณสงสัยในความจริง เป้าหมายก็คือ สลับสับเปลี่ยนข้อเท็จจริงจนทำให้เป็นเรื่องยากในการระบุว่าความจริงคืออะไรกันแน่
ปัญหาการแพร่กระจายของ ‘ข่าวปลอม’ ไม่ใช่เรื่องใหม่ มันเคยได้รับความนิยมในช่วงปลายทศวรรษ 1930 แต่โครงสร้างของโซเชียลมีเดียในปัจจุบันทำให้ข่าวปลอมกระจายไปได้รวดเร็วขึ้น กว้างขวางขึ้น และตรวจสอบได้ยากขึ้น ดิเรสต้ากล่าวว่า “ข่าวปลอมจะกระจายออกไปได้รวดเร็วขึ้นด้วยการเข้าถึงสื่อให้มากที่สุด สื่อจะทำให้เกิดความชอบธรรม และทำให้เกิดการแพร่กระจายออกไป” การแพร่กระจายของข่าวปลอมก็เป็นไปในทำนองเดียวกับโรคระบาด และยังมีวิวัฒนาการในตัวเองให้สามารถแพร่กระจายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
แล้วเราสามารถทำอะไรกับมันได้บ้าง?
-
Product on saleระเบียบแห่งการระบาด
฿389฿331
แท็ก
Related Content

บอ.กอ. RECOMMEND
ป้ายยาหนังสือจากกองบรรณาธิการ เล่มโปรดของแต่ละคนที่อยาก…

In Depth ‘นุนชี่ พลังแห่งการสังเกตชีวิต’
การบอกว่าแบบไหนคือ “มีนุนชี่” บางทีก็เป็นเร…

ความเหงา=การสูบบุหรี่ 15 มวน/วัน อย่าปล่อยให้มันฆ่าคุณ
ความเหงาไม่ต่างอะไรจากโรคระบาด มันส่งถึง ติดต่อ และทำลา…