คณิตศาสตร์กับความโสด…ทำไมจำนวนคู่เดตของเราถึงอาจน้อยกว่าสิ่งมีชีวิตดาวอื่นถึง 400 เท่า

Published : พฤษภาคม 2, 2023 | Blog | Editor :

คณิตศาสตร์กับความโสด…ทำไมจำนวนคู่เดตของเราถึงอาจน้อยกว่าสิ่งมีชีวิตดาวอื่นถึง 400 เท่า ❓

ใครที่ยังโสดเคยสงสัยกันไหมว่า เรามีโอกาสเท่าไรที่จะพบรัก มันมีวิธีคำนวณยังไง แล้วเมื่อไรหนอที่จะได้เจอว่าคนนั้นที่ตามหา

เมื่อปี 2010 ปีเตอร์ แบ็กคัส นักคณิตศาสตร์ผู้ครองความโสดมานาน คำนวณเอาไว้เสร็จสรรพ พบว่ามีจำนวนอารยธรรมต่างดาวที่ปราดเปรื่องอยู่ในกาแล็กซี มากกว่าคนที่มีโอกาสจะเป็นแฟนเขาในอนาคตซะอีก
.
แบ็กคัสประยุกต์สูตรที่นักวิทยาศาสตร์ใช้หาคำตอบว่า ทำไมโลกถึงไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตต่างดาวมาเยือน ในการหาว่ามีผู้หญิงกี่คนที่เข้าเกณฑ์การเป็นแฟนของเขาได้
.
วิธีการง่ายๆ เขาคำถามออกเป็นประเด็นย่อย แล้วค่อยๆ คำนวณหาเป็นไปได้ในประเด็นนั้นๆ แล้วทอนมันลงมาเรื่อยๆ ไล่จากประเด็นใหญ่สุดมาเล็กสุด จนพบ ‘ความน่าจะเป็น’ สุดท้าย

1.มีผู้หญิงกี่คนอาศัยใกล้ๆ เขา
ตอบ: ในลอนดอน มีผู้หญิงประมาณ 4 ล้านคน

2.จาก 4 ล้าน มีกี่คนที่น่าจะอยู่วัยเหมาะสมกับเขา
ตอบ: 20% หรือประมาณ 8 แสนคน

3.จาก 8 แสนคน มีกี่คนที่น่าจะเป็นโสด
ตอบ: 50% หรือประมาณ 4 แสนคน

4.จาก 4 แสนคน มีกี่คนที่น่าจะเรียนจบมหาลัย
ตอบ: 26% หรือประมาณ 104,000 คน

5.จาก 1 แสนกว่าคน มีกี่คนที่น่าจะดูดีมีเสน่ห์
ตอบ: 5% หรือประมาณ 5,200 คน

6.จาก 5 พันกว่าคน มีกี่คนที่มองว่าเขามีเสน่ห์
ตอบ: 5% หรือแค่ 260 คน

7.จาก 260 คน มีกี่คนที่น่าจะเข้ากับเขาได้ดี
ตอบ: 10% หรือแค่ 26 คน

ทั้งโลกเหลือผู้หญิงแค่ 26 คนเท่านั้นที่เขาจะได้ออกเดตด้วย ซึ่งน้อยกว่าจำนวนเอเลี่ยนบนดาวอื่นถึง 400 เท่า!

ฮันนาห์ ฟราย ผู้เขียน The Mathematics of Love บอกไว้ในหนังสือของเธอว่า หลักเกณฑ์ของแบ็กคัสดูจะ ‘ช่างเลือก’ ไปหน่อย จริงๆ ถ้าปรับให้มันใจกว้างขึ้นอีกนิดแล้วคำนวณใหม่ ตัวเลขสุดท้ายอาจเพิ่มจาก 26 เป็นหลักพันก็ได้

แต่เธอก็เข้าใจ เพราะเมื่อเราเป็นคนโสดที่กำลังมองหาคู่รักที่เหมาะสม บ่อยครั้งที่จะเพิ่มรายการ ‘สิ่งที่ต้องมี’ และ ‘สิ่งที่ต้องห้าม’ ทั้งหลายเข้าไปในหลักเกณฑ์โดยไม่รู้ว่ามันยิ่งเป็นการตัดโอกาสตัวเอง

ลองเลือกที่สำคัญจริงๆ สัก 2-3 ข้อพอ และเปิดใจให้กว้างๆ คุณอาจพบความประหลาดใจที่น่ายินดีก็เป็นได้

เช่นปีเตอร์ แบ็กคัส ผู้เคยประมาณจำนวนคู่เดตของตัวเองเอาไว้ที่ 26 คน แต่สุดท้ายแม้โอกาสจะมีไม่มาก แต่เขาก็ทำสำเร็จ เข้าพิธีวิวาห์ไปเมื่อปี 2014

นอกจากความโสด ยังมีอีกหลายเรื่องที่คณิตศาสตร์เข้าไปเกี่ยวข้องกับความรักอย่างไม่น่าเชื่อ รอให้คุณมาถอดสมการหัวใจไปพร้อมกันใน ” The Mathematics of Love บวก ลบ คุณ ฉัน : ความน่าจะรักระหว่างเรา”

แท็ก


Related Content