‘อาเธอร์ โชเปนเฮาเออร์’ นักปรัชญาผู้หม่นหมอง

Published : เมษายน 28, 2023 | Blog | Editor :

“ความเมตตาสงสารเป็นพื้นฐานของศีลธรรม” นักปรัชญาอาเธอร์ โชเปนเฮาเออร์ เขียนไว้ในช่วงเวลาที่อ่อนโยนของเขา บางทีมันอาจจะเป็นพื้นฐานของชีวิตด้วย

ในมหัศจรรย์ห้องสมุดเที่ยงคืน คำว่า ‘เมตตา’ เป็นสิ่งที่นอรา ซีด พูดถึงอยู่บ่อยครั้ง จงมีเมตตาต่อกัน ต่อชีวิต ต่อผู้อื่น และที่สำคัญคือต่อตัวเอง แต่การมีเมตตาก็ไม่ใช่เรื่องง่าย หากว่าเรายังประสบกับความทุกข์อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ดังนั้น นอรา ซีด เองก็เหมือนกับอาเธอร์ในอีกแง่ เพราะเขาเชื่อว่าเราทุกคนติดอยู่ในวัฏจักรอันสิ้นหวัง

อาเธอร์ มีภาพลักษณ์ของการมองโลกในแง่ร้าย หม่นหมอง และดื้อรั้น หลักปรัชญาของเขาอธิบายเรื่องเจตจำนง (will) และภาพแทน (representation) เจตจำนงคือแรงขับเคลื่อนที่กำหนดความคิด พฤติกรรม และแรงขับเคลื่อนต่างๆ ที่ปรากฎอยู่ทุกที่ในธรรมชาติ ขณะที่โลกที่เป็นภาพแทนก็คือโลกที่เราเห็น

“สำหรับอาเธอร์ โชเปนเฮาเออร์ โลกนี้ไม่มีพระเจ้าที่จะชี้ทางให้กับเรา และเจตจำนงนี้ก็ไม่ใช่พระเจ้า สถานภาพของมนุษย์คือการที่เราเป็นส่วนหนึ่งของแรงขับที่ไร้ความหมาย เช่นเดียวกับความจริงทั้งหมด”

โลกที่เราอยู่ไม่ใช่โลกที่สมบูรณ์ และการตระหนักถึงความจริงข้อนี้อาจช่วยให้เราเห็นคุณค่าในการดำรงอยู่ของสิ่งต่างๆ มากขึ้น และสิ่งต่างๆ ที่ว่าก็หมายถึงชีวิตของเราด้วยเช่นกัน ในจุดเริ่มต้นของนวนิยายโลกที่เป็นภาพแทนของนอรา ซีด คงเต็มไปด้วยบาดแผลและร่องรอยของเจ็บปวด ดังนั้น ห้องสมุดเที่ยงคืน จึงได้มอบโอกาสให้เธอได้เห็นภาพแทนในความเป็นไปได้อื่นๆ ที่อาจช่วยให้เธอดำรงชีวิตต่อไปได้ แม้อีกเพียงแค่นาที

อ้างอิงบางส่วนจากหนังสือ ประวัติศาสตร์ปรัชญา ฉบับกะทัดรัด

แท็ก


Related Content