4 เรื่องลึกลับบน ‘เกาะผีดุ’
Published : พฤษภาคม 21, 2025 | Blog | Editor :

ผู้คนบนเกาะซาไกจิมะมีประวัติศาสตร์ ลัทธิ และความเชื่อเป็นของตนเอง โดยเฉพาะเรื่องราวลึกลับและสิ่งลี้ลับที่ทำให้เกาะแห่งนี้แตกต่างจากพื้นที่อื่นบนโลก นี่คือ 4 เรื่องลึกลับบนเกาะผีดุ
—————
(1) ‘ยูตะ’ คือ คำเรียกร่างทรงบนเกาะซาไกจิมะ ผู้มีความสำคัญมากต่อผู้คนบนเกาะ
บนเกาะมียูตะหลายคน ยูตะเป็นที่พึ่งของชาวบ้านเวลาชาวบ้านมีปัญหาอะไรก็จะไปหาท่านยูตะ เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็พากันไปหาท่านยูตะแทนที่จะไปหาหมอ หรือจะเรียกว่าเป็นหมอผีที่มีความพิเศษ และเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของชาวเกาะก็ย่อมได้
เชื่อกันว่า ยูตะสามารถเรียกดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับมาสนทนา จัดการกับวิญญาณติดตาม ปัดเป่าคุณไสย และในเวลาเดียวกันก็ร่ายมนตร์สาปแช่งศัตรูด้วย
ในสมัยเอโดะ ยูตะถูกปราบปรามเพราะรัฐบาลโชกุนเห็นว่า ลัทธิ เป็นอุปสรรคต่อการปกครองประชาชนในเมืองขึ้น ยูตะถูกทำให้เสื่อมเสียเกียรติ ในเวลาเดียวกันทางการก็ออกล่าริบดาบเพื่อลิดรอนอำนาจพลเมือง เท่านั้นยังไม่พอ ชาวเกาะแทบทุกคนถูกบังคับให้เป็นเกษตรกรและต้องจ่ายภาษีรายปีสูงลิบ
ที่น่าสนใจมากคือ แม้ถูกกดขื่อย่างแสนสาหัส แต่ยูตะก็ยังอยู่รอดมาได้จนถึงทุกวันนี้
ปัจจุบันบนเกาะนี้ บ้านของยูตะจะสร้างซุ้มประตูศาลเจ้าที่เรียกว่า โทริอิ เอาไว้ข้าง ๆ แม้รูปแบบทางศาสนาจะเห็นชัดเจนว่าไม่ใช่ชินโตแท้ แต่คงหลอมรวมชินโตเข้ากับความเชื่อทางไสยศาสตร์ของชาวเกาะที่มีมาตั้งแต่ต้น อาจกล่าวได้ว่าโทริอิได้กลายเป็นเครื่องหมายแสดงที่ตั้งของบ้านยูตะไปแล้ว
นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อที่ว่ายูตะจะมีเทพประจำตัว และมีดวงชะตาที่กำหนดให้เป็นยูตะ
—————
(2) ‘เค็นมุง’ คือ ปีศาจที่อาศัยอยู่ในต้นไทร
ผู้คนบนเกาะเล่าต่อ ๆ กันมาว่า รูปร่างหน้าตาเค็นมุงคล้ายคัปปะ แต่มีขนดกเหมือนลิง ขายาว ตัวเหม็น หัวกับปากเรื่องแสงได้ ยิ่งกว่านั้นมันยังขี้แกล้งและแปลงกายได้ด้วย
เค็นมุงเป็นภูตสิงอยู่ตามพวกต้นไทร มีจานใส่น้ำหรือน้ำมันอยู่บนหัว ตัวนิดเดียวแต่มือเท้ายาวดูไม่สมกับตัวหน้าเหมือนลิงก็ไม่ใช่แมวก็ไม่เชิง ลำตัวและน้ำลายเรืองแสงได้ส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้ง
แต่เดิมเค็นมุงอยู่ร่วมกับมนุษย์และคอยช่วยเหลือกัน แต่พอยุคสมัยผ่านไปเค็นมุงกลับกลายเป็นสิ่งที่น่ากลัว หากทำให้โกรธ เค็นมุงก็จะทำให้เกิดหายนะ หากใครนินทาว่าร้ายหรือไปตัดต้นไทรที่มันอยู่อาศัย มันจะให้โทษร้ายแรงมาก เช่น บวมแดงเหมือนถูกอะไรทิ่ม บางคนถึงกับตาบอด เรียกว่าถูกบดขยี้ลูกตาจนเละ
แต่ก็แก้คำสาปได้โดยเอาเชือกไปพันลำต้นที่ถูกตัดไปโดยพันวนไปทางซ้าย
สมัยสงครามยุติใหม่ ๆ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายศัตรูออกคำสั่งให้ตัดต้นไทรบนเกาะนี้ไปจนกว่าจะพอใช้เป็นพื้นที่สร้างคุกชั่วคราว หมายความว่าต้นที่เค็นมุงสิงอยู่ก็จะถูกตัดไปด้วย
ดังนั้น เวลาตัดทุกคนจึงพร้อมใจกันเอ่ยชื่อผู้บัญชาการกองทัพคนนั้นทุกครั้งที่จามขวานลงไป เพื่อบอกเค็นมุงว่าตัวเองไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากตัดตามคำสั่งของนายคนนั้น จากนั้นมาเค็นมุงก็หายไปจากเกาะ
ต่อมามีข่าวว่า ผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนนั้นเสียชีวิตกะทันหันที่ประเทศตัวเอง แล้วจู่ ๆ ก็มีคนเห็นเค็นมุงบนเกาะนี้อีก ทุกคนเลยเข้าใจกันว่าเค็นมุงไปให้โทษผู้บัญชาการทหารสูงสุดของประเทศนั้นถึงถิ่น และพอสัมฤทธิผลจึงกลับมาที่เกาะตามเดิม
นับว่าเป็นตำนานท้องถิ่นที่น่าสนใจมากเรื่องหนึ่ง
—————
(3) ‘เพลงพื้นบ้าน’ คือ เพลงที่คนในพื้นที่นั้นร้องต่อ ๆ กันเรื่อยมา ส่วนใหญ่เพื่อสังสรรค์รื่นเริง เพลงพื้นบ้านส่งต่อจากยุคสู่ยุค ผ่านเสียงร้องของคนหลายรุ่นจนหลายเพลงก็ลืมไปแล้วว่า ใครเป็นเจ้าของ และทำไมถึงแต่งเพลงนั้นขึ้นมา ? แต่แน่นอนว่ามันสามารถบอกเล่าวิธีคิดของผู้คน หรือสื่อถึงเรื่องจริงที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่แห่งนั้น
บนเกาะซาไกจิมะก็มีเพลงพื้นบ้าน โดยบทเพลงที่เราจะได้เห็นกันในเล่มนี้มีทำนองเพลงเรียบง่าย แต่มักแฝงด้วยความห่วงหาอาลัยและความโศกเศร้า ถ้าอ่านเนื้อเพลงดี ๆ จะพบว่ามันเต็มไปด้วยอดีตสุดหดหู่ที่น่าสะเทือนขวัญด้วย
ดังเช่นเพลงนี้
‘หากมีชีวิตอยู่อย่างทุกข์ทรมาน
ในโลกที่ไร้ความเที่ยงแท้นี้นานปี
คงต้องเช็ดน้ำตา ที่หลั่งลงมาเป็นสายเลือดทุกเช้าเย็น…’
และอีกเพลง
‘สงสาร แสนสงสาร
ดอกไม้สีแดงฉาน บานอยู่ในตา
ดอกไม้สีแดงฉาน บานอยู่บนฝ่ามือ
ลำแขนยืดยาว ราวกับงูฮาบุ
โธ่เอ๋ย โธ่เอ๋ย ราวงูฮาบุถูกแขวนห้อย
เด็กหญิงตัวน้อยที่เพิ่งเกิด
ก็ต้องไปเป็นทาส
ยามเย็น ลาลับลงทะเล
ขอดวงตะวันจงลาลับไปด้วยกัน…
สงสาร แสนสงสาร
ดอกไม้สีแดงฉาน บานอยู่บนกิโมโน
ดอกไม้สีแดงฉาน บานอยู่ในหัวใจและดวงวิญญาณ์
เธอที่เล่นซ่อนหา ช่วยรอประเดี๋ยว
ธ่เอ๋ย โธ่เอ๋ย ผู้คนบนเกาะรอฉันเดี๋ยวนะ
เด็กหญิงตัวน้อยที่เพิ่งเกิด
หากมิได้เกิดมายากแค้นคงดี
วันนี้ก็จะกลับไปสู่ท้องทะเล
กลับไปกับดวงตะวัน….’
เป็นต้น
—————
(4) ‘หินอิชิงันโต’ มีลักษณะเป็นหลักศิลาลวดลายคดเคี้ยว ชาวบ้านเชื่อกันว่า หินนี้ทำหน้าที่คล้ายเทพริมทางปัดเป่าเคราะห์ร้าย ส่วนใหญ่จะสลักตัวอักษรเขียนว่า อิชิงันโต ไว้ด้านหน้า แล้วนำไปตั้งที่สุดปลายถนนหรือตรงทางแยกเพื่อคุ้มภัย
บางพื้นที่เรียกหินนี้ว่าเซ็กกันโต บางคนเรียกว่าเคชิอิชิ หรือเคซี หรือไม่ก็มาจิมุงปาเรอิชิ โดยที่คำว่า มาจิมุง ในคำนั้นหมายถึงปีศาจหรือโยไก
เชื่อกันว่า มาจิมุงจะร่อนเร่ไปตามชุมชน โดยพื้นฐานแล้วมันจะเดินตรงไปข้างหน้าได้อย่างเดียว และจะชนเข้ากับสิ่งกีดขวางตรงสุดทางหรือทางแยก แรงสะท้อนตอนชนจะทำให้มันกระเด็นเข้าบ้านที่อยู่ฝั่งตรงข้ามทำให้บ้านนั้นเกิดเคราะห์ร้าย หินนี้จึงมีไว้เพื่อปัดเป่าหรือสะท้อนมันกลับไป เป็นการรับมือกับมาจิมุงนั่นเอง
อีกความเชื่อก็ว่า เดิมทีหน้าหินสลักเป็นลวดลายงูเลื้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่หลงเหลือมาจากความเชื่อสมัยโบราณ สัญลักษณ์เทพเจ้างูที่สลักอยู่บนหินอิชิงันโตมาจากรูปลักษณ์ของงูฮาบุ ซึ่งเป็นเทพเจ้างูบนเกาะที่มีมาแต่โบราณกาล
—————
พรีออเดอร์ วันนี้ – 2 มิ.ย. 2568 (เริ่มจัดส่ง 12 มิ.ย. 2568)
รับฟรี การ์ดเลนติเกาะผีดุ 1 ชิ้น (5.5 x 8.5 ซม.) เฉพาะรอบพรีออเดอร์
🏝️ เกาะผีดุ
忌怪島
Kikaijima
ผู้เขียน ฮิซาดะ ทัตสึกิ
จากบทภาพยนตร์ของอินางากิ คิโยทากะ และชิมิซึ ทาคาชิ
ผู้แปล ฉวีวงศ์ อัศวเสนา
ผู้วาดภาพปก Por Thunwarath
จำนวน 488 หน้า
ราคา 389 บาท
แท็ก
Related Content

Emotional Agility (ความคล่องแคล่วทางอารมณ์) คืออะไร
Emotional Agility (ความคล่องแคล่วทางอารมณ์) คืออะไร เชื…

“ราฟาเอล บ็อบ-วากสเบิร์ก” เจ้าของพล็อตเรื่องแปลกใหม่น่าอัศจรรย์ บาดลึกลงในหัวใจของมนุษย์ผู้โหยหาความรัก
ราฟาเอล บ็อบ-วากสเบิร์ก เป็นนักแสดง นักเขียน นักเขียนบท…

เราควรต้องผ่านเหตุการณ์สะเทือนใจก่อน เพื่อจะเติบโตขึ้นจริงๆ หรือ ?
คุณเคยมีช่วงเวลาที่เติบโตขึ้นได้ หลังเผชิญหน้ากับเหตุกา…