ปกรณัมกรีกที่ซ่อนอยู่ในนวนิยาย เมื่อร้านน้ำชาหลายเป็นประตูสู่ปรโลก

Published : กุมภาพันธ์ 11, 2025 | Blog | Editor :

ในปกรณัมกรีก ความตายไม่ใช่จุดสิ้นสุดแต่เป็นการเปลี่ยนผ่านที่เต็มไปด้วยความหมาย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเริ่มต้นใหม่

ทีเจ คลูน ได้นำแนวคิดนี้มาดัดแปลงสู่นวนิยาย ‘เจ็ดวันสุดท้ายในร้านน้ำชาหลังความตาย’ ที่ร้านน้ำชาในเรื่องเปรียบเสมือนรอยต่อระหว่างโลกของคนเป็นและคนตาย ส่วน ‘ฮิวโก้’ ผู้เป็นเจ้าของร้านทำหน้าที่คล้ายผู้นำวิญญาณไปสู่ปรโลก แต่แทนที่จะเดินทางไปด้วยการแจวเรือ ฮิวโก้กลับใช้บทสนทนา การชงชา และความอบอุ่นเพื่อการปลอบประโลมดวงวิญญาณเหล่านั้นให้พร้อมสำหรับการเดินทางครั้งสุดท้าย

มาดูกันว่าสิ่งที่นำมาดัดแปลงในนวนิยายเรื่องนี้มีอะไรที่น่าสนใจบ้าง รวมไปถึงรายละเอียดที่ช่วยขับเน้นประเด็นความหมายของชีวิต

🛶 ฮิวโก้ หรือ เครอนแห่งโลกหลังความตาย

หากโลกในปกรณัมกรีกมี เครอน (Charon) ชายแจวเรือข้ามแม่น้ำสติกซ์เพื่อส่งวิญญาณไปยังปรโลก ทีเจ คลูน ก็มอบบทบาทนั้นให้กับ ฮิวโก้ เจ้าของร้านน้ำชาผู้แสนอบอุ่น เขาไม่ได้ใช้เรือหรือไม้พาย แต่ใช้ “ถ้วยชา” เป็นเครื่องมือในการเยียวยาและส่งต่อวิญญาณ

ชาแต่ละถ้วยที่ฮิวโก้ชงให้กับแขกที่มาเยือน เปรียบเสมือนการช่วยให้พวกเขาปล่อยวางจากสิ่งที่ยึดติดในโลกเดิม และยอมรับการเดินทางสู่จุดหมายปลายทางใหม่ด้วยความสงบ

🫖 ร้านน้ำชา หรือ ประตูสู่โลกหลังความตาย

ในปกรณัมกรีก การข้ามแม่น้ำสติกซ์ (Styx River) เป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนผ่านจากโลกคนเป็นสู่โลกคนตาย ร้านน้ำชาเครอนส์ครอสซิงในนวนิยายก็ทำหน้าที่คล้ายกัน ที่แห่งนี้ไม่ได้เป็นเพียงที่พักชั่วคราว แต่เป็น “ประตูเชื่อม” ระหว่างสองภพ ผู้มาเยือนที่นี่จะได้เผชิญหน้ากับความกลัว ความเศร้า และความเสียใจ ก่อนที่จะค้นพบความสงบภายในเพื่อออกเดินทางใหม่อีกครั้ง

🍵 การดื่มชา หรือ การปล่อยวางในชีวิต

การข้ามแม่น้ำในปกรณัมกรีกคือการละทิ้งอดีตเพื่อเริ่มต้นชีวิตในอีกโลก คล้ายกับการเดินทางของ วอลเลซ ไพรซ์ ตัวเอกในนวนิยาย ในตอนเริ่มเรื่องเขาเป็นชายที่มีนิสัยแข็งกระด้างและเย็นชา แต่เมื่อได้มาพักในร้านน้ำชาแห่งนี้ เขาค่อยๆ เรียนรู้ที่จะปล่อยวางความสำเร็จทางวัตถุ และเปิดใจเรียนรู้ความสัมพันธ์ที่แท้จริงซึ่งทำให้เขาค้นพบความหมายของชีวิตได้ในที่สุด

สุดท้ายนี้ เราขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ร้านเครอนส์ครอสซิง ที่นี่เป็นทั้งจุดพักพิงของวิญญาณที่เพิ่งล่วงลับ จนกว่าพวกเขาจะพร้อมก้าวต่อไปยังโลกหน้า และยังเป็นร้านน้ำชาให้คนที่ยังมีลมหายใจสามารถแวะเวียนมาเพื่อค้นหาคำตอบหรือเยียวยาจิตใจจากความทุกข์

(ภาพประกอบจากผลงานของศิลปิน Gustave Doré)

🫖 เจ็ดวันสุดท้ายในร้านน้ำชาหลังความตาย

Under the Whispering Door

ผู้เขียน TJ Klune

ผู้แปล ธิดารัตน์ เจริญชัยชนะ

ผู้ออกแบบปก Por Thunwarath

จำนวน 576 หน้า

แท็ก


Related Content