Animation 4 เรื่อง ที่ทำให้โลกตะวันตกรู้จัก Studio Ghibli
Published : มิถุนายน 12, 2023 | Blog | Editor :
Animation 4 เรื่อง ที่ทำให้โลกตะวันตกรู้จัก Studio Ghibli
Studio Ghibli ก่อตั้งเมื่อปี 1985 แต่กว่าผลงานจะได้รับการเผยแพร่นอกประเทศอย่างกว้างขวาง ก็ปี 1996 และไม่ใช่ว่าแอนิเมชันทุกเรื่องจะได้รับโอกาสให้ฉายในต่างประเทศอย่างราบรื่น
แล้วเรื่องที่ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนและทำให้โลกตะวันตกรู้จัก Studio Ghibli มีเรื่องอะไรบ้าง
Princess Mononoke (1997)
→ เรื่องแรกที่ได้ฉายในสหรัฐอเมริกา
นี่คือแอนิเมชันเรื่องแรกที่ได้ฉายในต่างประเทศอย่างเป็นทางการภายใต้การดูแลของบริษัทในเครือดิสนีย์ แม้เรื่องนี้จะได้รับความนิยมอย่างสูงในญี่ปุ่นขนาดที่สามารถยืนโรงฉายได้นาน 1 ปี แต่กว่าจะได้ฉายในอเมริกาก็ต้องเผชิญอุปสรรค เช่น การถูกกดดันให้ตัดเนื้อเรื่องให้สั้นลง
แต่ด้วยความหนักแน่นของสตูดิโอและฮายาโอะ มิยาซากิ ที่ยืนยันว่าผลงานทุกเรื่องจะต้องฉายตามแบบต้นฉบับเท่านั้น ในที่สุด Princess Mononoke ก็ได้ฉายโดยไม่ต้องแก้ไข
Kiki’s Delivery Service (1989)
→ เรื่องที่ชาวตะวันตกเปิดใจยอมรัก
หลังจากที่ Studio Ghibli ตัดสินใจบุกอเมริกาเต็มตัว พวกเขาเสนอรายชื่อแอนิเมชันไปหลายเรื่อง แต่แทบไม่มีเรื่องไหนผ่านการพิจารณาให้ออกฉายเลย เหตุผลที่ทำให้ทีมงานชาวตะวันตกใช้ปฏิเสธมีหลากหลาย เช่น Laputa: Castle in the Sky มีฉากเด็กถูกยิง หรือ My Neighbor Totoro มีฉากพ่ออาบน้ำกับลูกสาว เป็นต้น
และในที่สุดพวกเขาก็ตัดสินใจเลือก Kiki’s Delivery Service มาฉายต่อจาก Princess Mononoke เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยงน้อยที่สุดในสายตาทีมงาน ซึ่งเนื้อเรื่องการเติบโตของแม่มดน้อยก็ได้ครองใจผู้ชมทั้งเด็กและผู้ใหญ่
My Neighbor Totoro (1988)
→ เรื่องที่เปิดประตูวัฒนธรรมญี่ปุ่น
ช่วงแรกที่ภาพยนตร์ญี่ปุ่นเริ่มฉายในต่างประเทศ ผู้ชมต่างชาติยังไม่คุ้นชินกับวัฒนธรรมมากนัก My Neighbor Totoro ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่เปิดประตูให้ชาวตะวันตกเข้ามาสัมผัสและเข้าใจความแตกต่างนี้มากขึ้น
อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แอนิเมชันเรื่องนี้เข้าถึงผู้ชมได้อย่างง่ายดายก็มาจากคาแรคเตอร์ ‘โทโทโร่’ แสนนุ่มฟูสุดน่ารัก ที่ตอนหลังได้กลายมาเป็นโลโก้ขอ Studio Ghibli ด้วย
Spirited Away (2001)
→ เรื่องที่เปลี่ยน Studio Ghibli ไปตลอดกาล
หลังจากที่ได้รับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์การ์ตูนยอดเยี่ยมในปี 2003 หลายคนที่เคยมองข้ามแอนิเมชันจากญี่ปุ่นต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ทันที ความสำเร็จนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ให้นานาชาติเห็นว่าผลงานของ Studio Ghibli มีคุณภาพไม่แพ้ใคร ขอเพียงมีพื้นที่ให้พวกเขาได้ฉายแสง ประเด็นยิบย่อยที่ชาวต่างชาติเคยใช้กีดกันผลงาน เช่น เนื้อเรื่องมีความเป็นญี่ปุ่นเกินไป เฉพาะกลุ่มเกินไปจนขายยาก ไม่ใช่อุปสรรคที่ต้องกังวลอีกต่อไป กลับกลายจะเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครเสียด้วยซ้ำ
แอนิเมชันทั้ง 4 เรื่องนี้ เป็นตัวอย่างของหนทางที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบของ Studio Ghibli ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่พวกเขาต้องฝ่าฟันกว่าสตูดิโอแอนิเมชันที่มีชื่อเสียงที่สุดในญี่ปุ่นจะโด่งดังไปทั่วโลก
เตรียมตัวอ่านเบื้องหลังการทำงานและความสำเร็จผ่านสายตาของชายต่างชาติเพียงคนเดียวในบริษัท ผู้มีบทบาทสำคัญในการขยายตลาดให้ Studio Ghibli ได้เร็วๆ นี้
-
Product on saleแม่มดกิกิผจญภัย 3 ตอนกิกิกับแม่มดปริศนา
฿315฿268 -
Product on saleแม่มดกิกิผจญภัย ตอน ไปรษณีย์ด่วนแม่มด
฿295฿251 -
Product on sale
แท็ก
Related Content
‘เฟรเมน’ ชนเผ่าผู้มีดวงตาสีน้ำเงินใน ‘ดูน’
“พวกเฟรเมนคงต้องกล้าหาญมากที่ไปอาศัยอยู่ริมทะเลทร…
ถอดบทเรียนจาก The Secret Life of Walter Mitty คนเราควรมี ‘คาเฟ่ในหัวใจ’ เป็นของตัวเอง
ถอดบทเรียนจาก The Secret Life of Walter Mitty คนเราควร…
Lost soul finds comfort เมื่อหัวใจที่หลงทางได้กลับบ้าน
Lost soul finds comfort เมื่อหัวใจที่หลงทางได้กลับบ้าน …