ความหมายของชีวิตในแบบฟรังเคิล
Published : ธันวาคม 2, 2022 | Blog | Editor :
นี่ไม่ใช่แค่การมองโลกในแง่ดีหรือหลอกตัวเอง แต่มันคืออีกทัศคติหนึ่งของการใช้ชีวิต และการให้ความหมายเพื่อที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป
Life is Beautiful (1997) เป็นหนังที่เล่าถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในแบบที่ต่างออกไปจากเรื่องอื่นๆ เราจะหัวเราะอย่างมีความสุขในพาร์ทแรก แล้วหลังจากนั้นจะยิ้มทั้งน้ำตาและบางคนถึงกับฟูมฟาย แต่การดูหนังเรื่องนี้ก็อาจทำให้เราคิดว่านี่เป็นการบิดเบือน เพิกเฉย หรือปฏิเสธโศกนาฎกรรมที่เกิดขึ้น
ผู้กำกับ โรแบร์โต เบนิญี่ รู้อยู่แล้วว่าความคิดเห็นเหล่านี้เกิดขึ้นได้ เขาจึงทำการบ้านอย่างหนัก เพื่อบทและการแสดง เขารู้ดีว่ามีโศกนาฎกรรมเกิดขึ้นและทุกคนก็รู้ดี นี่จึงไม่ใช่หนังตลกหรือทำมาเพื่อเสียดสีความเจ็บปวด แต่มันคือการมีชีวิตด้วยทัศคติที่ต่างไป
ในหนังตัวละครหลักอย่าง ‘กุยโด’ ถูกจับไปยังค่ายกักกัน พร้อมกับลูกชาย ส่วนตัวภรรยา แม้ไม่ใช่คนยิว แต่เธอก็ยอมให้ตัวเองถูกจับไปด้วย ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในค่ายกักกัน กุยโดบอกกับลูกชายเสมอว่าเราถูกจับมาเพื่อเล่นเกม ถ้าใครสามารถอยู่รอดและคว้าชัยชนะได้ก็จะได้รางวัลกลับบ้านไป
ความหมายในการมีชีวิตอยู่ของกุยโดคือลูกชาย ความรักของภรรยา และความหวังว่าจะได้กลับไปอยู่กันพร้อมหน้า ซึ่งถ้าจะพูดไปแล้วก็คล้ายกับทฤษฎีจิตบำบัดของวิกเตอร์ อี. ฟรังเคิล
“ไม่ว่าจะมีความโหดร้ายด้วยน้ำมือทหารยามเข้ามาย่างกรายเหล่านักโทษ ทั้งทุบตี ทรมาน และการข่มขู่เอาชีวิตตลอดเวลา แต่มันมีเสี้ยวหนึ่งในชีวิตของพวกเขาที่ยังคงเป็นอิสระ นั่นคือในของพวกเขาเอง ไม่ว่าสภาวการณ์รอบตัวจะเลวร้ายเพียงใดก็ตาม แต่ความหวัง จินตนาการ และความฝันของนักโทษเหล่านั้นยังล้วนขึ้นอยู่กับพวกเขา ความสามารถภายในเช่นนี้คือเสรีภาพที่แท้จริงของมนุษย์”
เมื่อคนๆ หนึ่งตกอยู่ท่ามกลางชะตากรรมอันเลวร้าย ศักดิ์ศรีและคุณค่าถูกลดทอน ความหมายในชีวิตค่อยๆ หมดไป หลงเหลือเพียงแค่ลมหายใจและการดำรงอยู่ เมื่อนั้นเขาคนนั้นก็จะพบอิสระอีกครั้ง นั่นคืออิสรภาพในการเลือกทัศนะต่อการใช้ชีวิต ซึ่งมันจะทำให้เขาเปลี่ยนแปลงไป แม้สถานการณ์ตรงหน้าจะดำเนินต่อไปก็ตาม
ดังนั้น ถ้าหากจะให้เลือกหนังสักเรื่องมาแทนภาพของหนังสือ ‘Yes to Life: In Spite of Everything’ หรือ ‘อย่าสูญสิ้นความหวัง เพราะชีวิตยังมีความหมาย’ ก็คงไม่มีเรื่องไหนเหมาะไปกว่า ‘Life is Beautiful ยิ้มไว้โลกนี้ไม่มีสิ้นหวัง’ อีกแล้ว
แท็ก
Related Content
จาก Blackface สู่ Yellowface
สงสัยไหมว่าชื่อหนังสือ #Yellowface มีที่มาจากอะไร ? ‘Ye…
BRIEFING “ระเบียบแห่งการระบาด”
“ระเบียบแห่งการระบาด” คือ หนังสือเล่มดังที่ทุกคนพูดเป็น…
รับฟังเพื่อเข้าใจปัญหาที่ทับซ้อนของกันและกัน
ตอนอ่าน #ความทรงจำที่ทิ้งไว้ในฤดูร้อน พวกเราอ…