“ไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวก็มีคนอื่นมาช่วยเอง”

Published : ธันวาคม 2, 2022 | Blog | Editor :

ไม่นานมานี้หลายคนคงได้เห็นประเด็น “การเป็นพลเมืองดีมันยาก” เพราะบางครั้งเมื่อหยิบยื่นความช่วยเหลือไปให้ มันกลับกลายเป็นภัยเข้าตัวแทน
ในทางกลับกัน หลายครั้งเมื่อได้ยินเสียงขอความช่วยเหลือ เรากลับไม่พยายามยื่นมือเข้าไปช่วย ทำไมเราถึงเพิกเฉย? แล้วทำแค่เฝ้ารอให้เหตุการณ์ผ่านไป
ในหนังสือ “ที่ผ่านมา มนุษย์ไม่เคยไร้หัวใจ” หยิบยกเหตุร้ายหนึ่งขึ้นมา มีเสียงกรีดร้องดึงขึ้น ผู้หญิงคนหนึ่งโดนแทง เธอพยายามเปล่งเสียงออกไป แต่ไม่มีใครสักคนออกมา เพื่อนบ้านหลายคนมองดูจากหน้าต่าง คนร้ายแทงหญิงสาวซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในที่สุดเธอก็หมดลมหายใจ
เธอชื่อ คิตตี้ ข่าวนี้กลายเป็นข่าวใหญ่ที่อังกฤษ มันทำให้เราตั้งข้อกังขาต่อกันว่า “ทำไมเราถึงไม่ไยดีเพื่อนมนุษย์”
แต่เหตุการณ์แบบนี้ก็มีคำอธิบายอยู่ Bystander Effect คือปรากฎการณ์ที่ยิ่งมีคนอยู่มากเท่าไร การให้ความช่วยเหลือต่อผู้ประสบเหตุก็จะน้อยลงเท่านั้น ซึ่งมีสองปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้คน
หนึ่ง การกระจายความรับผิดชอบ ผู้คนจะไม่รู้สึกกดดันในการให้ความช่วยเหลือ หรือเกี่ยงความช่วยเหลือ
สอง เมื่อคนอื่นๆ ไม่ตอบสนอง ผู้คนมักคิดว่านี่เป็นสัญญาณว่าการช่วยเหลือไม่จำเป็นหรือไม่เหมาะสม
นักวิจัยพบว่ามีโอกาสน้อยที่คนจะเข้าไปแทรกแซงหากสถานการณ์ไม่ชัดเจน ในกรณีของคิตตี้ พยานจำนวน 38 คนบอกว่า พวกเขาเชื่อว่ากำลังเห็น “การทะเลาะวิวาทของรัก” และไม่ทราบว่าเธอกำลังจะถูกฆ่าจริงๆ
การป้องกันเหตุการณ์คนมุง แต่ไม่ยื่นมือสามารถทำได้ นักจิตวิทยาแนะนำว่า เมื่อเจอเหตุการณ์เลวร้ายที่ต้องช่วยเหลือ ให้คิดว่าการยืนดูอาจรั้งคุณไว้ และทำให้ทุกอย่างล่าช้าเกินไป แต่เราก็ต้องทำทุกอย่างอย่างมีสติ และไม่ทำให้ตัวเองตกอยู่ในอันตรายไปด้วย

นี่คือคำอธิบายว่า พวกเรายังสามารถไว้วางใจกันและกันได้ในยามฉุกเฉิน เพราะไม่ใช่ว่าเราไร้หัวใจ

แท็ก


Related Content