เบื้องหลังความสำเร็จ Studio Ghibli

Published : มีนาคม 28, 2023 | Blog | Editor :

สตูดิโอจิบลิมีทีมงานมากมายที่ช่วยกันผลักดัน ให้จิบลิกลายเป็นเจ้าของผลงานสร้างสรรค์ที่โด่งดังไปทั่วโลก ผลิตภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องเยี่ยมที่ตราตรึงอยู่ในหัวใจของทุกคนเสมอมา

จึงขอชวนมาทำความรู้จักบุคคลเบื้องหลังภาพยนตร์จิบลิ ผ่านมุมมองของ สตีฟ อัลเพิร์ต ผู้เขียน “ชายมหัศจรรย์ผู้ทำให้โลกรู้จักจิบลิ” ซึ่งในโพสต์นี้เราคงหยิบมาเล่าได้เพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะบุคคลที่ถูกพูดถึงในเล่มนี้ยังมีอีกหลายคนที่น่าทำความรู้จัก

พวกเขาในฐานะมนุษย์ทำงานธรรมดาๆ ปั่นงานอย่างรีบเร่งในช่วงเดดไลน์ ทะเลาะถกเถียงกับบริษัทคู่แข่ง และนั่งทานไอศกรีมรสโปรด

นี่คืออีกมุมของสตูดิโอจิบลิที่คุณจะต้องตกหลุมรัก

โทชิโอะ ซูซูกิ คือ จุดเริ่มต้นที่ทำให้จิบลิไปเยือนนานาชาติ
เขาคือผู้บริการสตูดิโอจิบลิและผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์แทบทุกเรื่องของจิบลิ ผู้ว่าจ้างให้สตีฟเริ่มก่อตั้งแผนกตั้งต่างประเทศของสตูดิโอจิบลิและโทคุมะ โชเต็น ที่เป็นบริษัทแม่
เพราะซูซูกิกังวลว่า แต่แม้ไกจิน(คนต่างชาติ)ที่พูดญี่ปุ่นได้ก็อาจจะไม่สามารถทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมแบบญี่ปุ่นที่ละเอียดอ่อนมากได้ จึงลงทุนก่อตั้งแผนกดังกล่าว และให้มันเป็นบริษัทใหม่ที่แยกออกเป็นเอกเทศภายในโทคุมะ กรุ๊ป บริษัทใหม่นี้ชื่อว่า โทคุมะ อินเตอร์เนชั่นแนล
ซูซูกิไม่ใช่ผู้ชายตัวใหญ่ แต่กลับแผ่พลังงานความเฉลียวฉลาดและไหวพริบอย่างเห็นได้ชัด ใบหน้าแหลมๆ ที่มีแว่นตาทรงกลมสไตล์จอห์น เลนนอน กับหนวดเคราที่เหมือนไว้มาห้าวันอยู่ตลอด พร้อมการแต่งตัวสบายๆ ขั้นสุด
เขาคือคนที่ดูยุ่งที่สุดแต่ก็มีเวลาว่างมากที่สุด มีเวลาว่างไปดูภาพยนตร์ญี่ปุ่นและฮอลลีวูดเรื่องสำคัญๆ เสมอ ปกติซูซูกิจะประจำอยู่ที่สตูดิโอจิบลิในฮิกาชิโคงาเนอิ จัดการด้านการดำเนินงานของสตูดิโอ และคอยสนับสนุน ฮายาโอะ มิยาซากิ เป็นคู่หูที่ปรึกษาแลกเปลี่ยนความเห็น
ซูซูกิเป็นผู้มีอำนาจอันดับสองของโทคุมะ โชเต็น รองจาก ยาสุโยชิ โทคุมะ
ซูซูกิอยู่ใจกลางกรุงโตเกียวและจะเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการขับรถหนึ่งชั่วโมงกว่ามายังจิบลิที่อยู่แถบชานเมืองโคงาเนอิ เขาจะทำงานอยู่ที่นั่นหลายชั่วโมง จากนั้นก็ขับรถกลับไปใจกลางกรุงโตเกียวเพื่อร่วมการประชุมหลายประชุมที่ชิมบาชิ ที่ที่บริษัทโทคุมะ โชเต็น ตั้งอยู่ ก่อนกลับมาที่จิบลิอีกรอบ แล้วออกจากสตูดิโอจิบลิเพื่อกลับบ้านที่โตเกียวในเวลาตีหนึ่งตีสอง เพื่อนอนไม่เกินสี่ชั่วโมงต่อวัน

ตอนที่สตีฟมาถึงจิบลิ ผู้กำกับฮายาโอะ มิยาซากิ ก็แก่กว่าซูซูกิประมาณสิบปี เขาคือผู้สร้างสรรค์หลักของสตูดิโอจิบลิที่กำลังฝืนสังขารทำงานหนักแทบตายเพื่อภาพยนตร์เรื่องใหม่ “เจ้าหญิงจิตวิญญาณแห่งพงไพร” ในขณะเผชิญหน้ากับอาการเขียนไม่ออกอย่างใหญ่หลวงขณะดิ้นรนคิดตอนจบให้ภาพยนตร์เรื่องนี้
ฮายาโอะ มิยาซากิ เคยได้รับการขนานนามว่า วอลต์ ดิสนีย์ และสตีเวน สปีลเบิร์ก แห่งวงการภาพยนตร์ญี่ปุ่น เขาถือเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลใหญ่หลวงต่อผู้กำกับภาพยนตร์คนอื่นๆ ทว่าเขามักเขียนตอนจบของบทภาพยนตร์ในยามที่ต้นเรื่องและกลางเรื่องได้เข้าสู่กระบวนการผลิต พอการสร้างภาพยนตร์ไล่ตามมาถึงจุดที่บทยังไม่ได้เขียน ความตื่นตระหนกก็มักจะเกิดขึ้น
นอกจากเขียนบทและกำกับ ฮายาโอะยังเป็นคนออกนามบัตรให้กับ บริษัทโทคุมะ อินเตอร์เนชั่นแนล โดยใช้โลโก้เป็นรูปของยาสุโยชิ โทคุมะ กางปีกโผบิน ซึ่งสตีฟเดาว่าน่าจะหมายถึงการบินออกนอกประเทศญี่ปุ่น
อาคารหลักของสตูดิโอซี่งในตอนนั้นเป็นอาคารแห่งเดียวของจิบลิ ก็ได้รับการออกแบบโดยฮายาโอะ เพราะเขาชื่นชอบการออกแบบอาคารสำหรับภาพยนตร์ของเขา
ฮายาโอะ คือ หนึ่งในบุคคลที่อยู่กับจิบลิมาตั้งแต่สตูดิโอเริ่มก่อตั้งและยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนัก

ประธานบริษัทของโทคุมะ กรุ๊ป ไม่ว่าภาพลักษณ์ของนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นจะเป็นแบบไหน โทคุมะก็ไม่ตรงกับภาพลักษณ์เหล่านั้นเลย เขาเป็นคนขี้เล่น มั่นใจในตัวเอง ดื้อรั้น เด็ดเดี่ยว และเป็นคนบ้าระห่ำที่สามารถแหวกว่ายฝ่ากระแสธารความเห็นส่วนใหญ่ของประชาชนและความคิดอนุรักษนิยมด้วยความยินดี
โทคุมะคือผู้ชายตัวสูง กำยำงแข็งแรง หล่อเหลา มีเสียงทุ้มแหบห้าวที่สามารถปลุกเร้าผู้ชมนับร้อยได้โดยไม่ต้องใช้ไมโครโฟน เขาแผ่ออร่าของคนมีอำนาจ และสามารถพ่นเรื่องโกหกที่มองออกได้ง่ายๆ อย่างน่าเชื่อถือและสนุกสนาน แม้จะไม่มีใครเชื่อเขาเลย แต่ทุกคนก็ยังทำเหมือนเชื่อ
โทคุมะสามารถเปลี่ยนตัวเองจากคนบ้าระห่ำทะนงตน มาเป็นรัฐบุรุษสูงวัยผู้ชายฉลาดที่ชอบแบ่งปันความรู้กับคุณอย่างลับๆ
และคติประจำใจของเขาก็คือ “จงอย่าปล่อยให้ความขัดสนทางการเงินหยุดคุณ เพราะมีธนาคารมีเงินมหาศาลให้กู้แค่ทำเรื่องขอ”
บางครั้งโทคุมะจะบอกให้สตีฟขึ้นไปหาเขาที่ออฟฟิศ แต่กลับไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการประชุมหรือคำร้องขอเลยสักนิด สุดท้ายพวกเขาจะนั่งกินไอศกรีมฮาเก้น-ดาส (รสวานิลลาเสมอ) ด้วยกัน พอกินเสร็จโทคุมะก็จะกล่าวขอบคุณ และสตีฟก็ออกมาจากห้องพร้อมคำถามในหัวที่ว่า “เมื่อกี้นี้มันอะไรกัน”
ยาสุโยชิ โทคุมะ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2000 เขาได้ทิ้งความทรงจำและผลงานที่จะยังคงอยู่ชั่วนิจนิรันดร์เอาไว้

สตีฟ คือ ‘ไกจิน’ หรือคนต่างชาติ เพียงคนเดียวในบริษัทญี่ปุ่นที่ต้องเผชิญหน้ากับความต่างของวัฒนธรรมและแนวคิดอนุรักษนิยม
เขามีส่วนร่วมในการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างดิสนีย์ และโทคุมะ กรุ๊ป เนื่องจากเขาคือ ผู้อำนวยการและผู้จัดการทั่วไปของแผนกธุรกิจต่างประเทศของสตูดิโอจิบลิ หรือ โทคุมะ อินเตอร์เนชั่นแนล
ออฟฟิศของโทคุมะ อินเตอร์เนชั่นแนล ถูกออกแบบมาเพื่อไกจินโดยเฉพาะ กำแพงที่สร้างขึ้นใหม่เอี่ยม พร้อมเครื่องพรินต์ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องแฟกซ์ โซฟา เก้าอี้นวม ตู้หนังสือและพจนานุกรมญี่ปุ่น-อังกฤษ ยังมีวิวที่เห็นได้ไกลถึงอ่าวโตเกียว และมองเห็นการคมนาคมหลากรูปแบบได้อย่างเพลินตา
แม้ธรรมเนียมในญี่ปุ่นจะมีเยอะและละเอียด ทว่าสตูดิโอจิบลิมีวิธีการต่างๆ ที่แหวกแนวประเพณี ซึ่งเป็นทั้งเหตุผลของความสำเร็จในประเทศ และการไม่สามารถนำภาพยนตร์ไปฉายนอกประเทศได้ บริษัทจึงได้จ้างสตีฟเข้ามา เพราะพวกเขาต้องการไกจินที่สามารถชื่นชมและเข้าใจความละเอียดอ่อนในการทำงานของจิบลิ
สำหรับสตีฟแล้ว การเป็นไกจินที่นี่ทำให้เขาเหงาเป็นบางครั้ง พึ่งพาความเมตตาจากคนอื่นๆ บ้าง และหลงใหลในความพิเศษและเป็นเอกลักษณ์ของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และผู้คนในญี่ปุ่น

แท็ก


Related Content