ชีวิตคือการถูกถามและเรามีหน้าที่คือการยอมรับ

Published : ธันวาคม 2, 2022 | Blog | Editor :

“มันไม่สำคัญเลยว่าชีวิตมนุษย์จะยืนยาวเท่าไร ความยืนยาวไม่ได้ทำให้ชีวิตมีความหมายขึ้นมาโดยอัตโนมัติ และความเป็นไปได้ว่าชีวิตนี้จะแสนสั้นก็หาได้ทำให้มันไร้ซึ่งความหมาย”

สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นบาดแผลในหน้าประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ และมันก็ยิ่งบาดลึกสำหรับผู้ที่เคยผ่านความตายมาแล้วในค่ายกักกัน ชีวิตถูกลดทอนคุณค่าจนแทบไม่เหลือความหมายใด พวกเขา “แหลกลาญสิ้นแล้วทางจิตวิญญาณ” ส่งผลให้หลายคนมองไม่เห็นเหตุผลที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป ความตายยังน่าปรารถนาเสียกว่าการตื่นมาแล้วพบว่าค่ายกักกันยังคงอยู่
หนึ่งในเชลยที่เผชิญหน้ากับชะตากรรมที่ไม่ควรเกิดขึ้น คือ วิกเตอร์ อี. ฟรังเคิล นักประสาทวิทยาและจิตแพทย์ชาวออสเตรีย เขามีผลงานสำคัญสำคัญต่อวงการจิตบำบัดที่เรียกว่า ‘โลโกเทอราปี’ (Logotherapy)

“แทนที่จะแสวงหาเพียงแค่ความสุข เราสามารถแสวงหาในแง่ของจุดประสงค์ที่ชีวิตนี้เสนอมาให้กับเรา”

การบำบัดของฟรังเคิลเป็นส่วนหนึ่งในสำนักการบำบัดแนวอัตถิภาวนิยม ซึ่งปรัชญาแบบอัตถิภาวนิยมนี้ จะมุ่งเน้นไปที่การการสำรวจแก่นแท้ของการมีอยู่ของมนุษย์ และแสดงให้เห็นถึงความคิดในอิสรภาพ
ก่อนหน้าที่จะถูกจับ ฟรังเคิลได้ก่อตั้งโครงการป้องกันการฆ่าตัวตายในหมู่นักเรียน ผลลัพธ์คือโครงการของเขาช่วยลดการฆ่าตัวตายได้จริง
หลักการของฟรังเคิลจะดำรงอยู่บนพื้นฐานของความปรารถนาที่จะค้นหาความหมายและการมีอิสรภาพในชีวิต

“ทั้งความเข้มแข็งและอ่อนแออันเป็นเอกลักษณ์ของเรานั้น ทำให้เราแต่ละคนมีเพียงหนึ่งเดียว มิอาจถูกแทนที่ได้”

เมื่อฟรังเคิลได้รับอิสรภาพทางร่างกายอีกครั้ง เขาเดินทางทั่วโลกเพื่อแสดงปาถกฐานนับครั้งไม่ถ้วน เขียนหนังสืออีกกว่า 30 เล่ม เขาคือคนที่สามารถยืนหยัดกับทุกคนได้ว่าทัศนคติต่อชีวิตเป็นส่วนสำคัญอย่างไร เพื่อที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป
แล้วเราจะหลุดออกจากสภาวะสุญญากาศแห่งการดำรงอยู่ไปได้ ด้วยความหมายที่เราเป็นคนค้นพบและมอบมันให้แก่ตัวเอง

แท็ก


Related Content