มหัศจรรย์ห้องสมุดจากทั่วโลก สวยจนอยากไปเยือนสักครั้ง
Published : เมษายน 26, 2023 | Blog | Editor :
อย่าตัดสินหนังสือจากหน้าปกฉันใด ก็อย่าตัดสินห้องสมุดจากภายนอกฉันนั้น บางทีอาคารที่ดูเรียบง่าย แต่ภายในกลับสวยงามจนแทบหยุดหายใจ ขนาดไม่เคยไปเยือนที่นั่นด้วยตัวเองยังสัมผัสได้ถึงมนต์ขลังของหนังสือ ห้องสมุดที่มองไปทางไหนก็เต็มไปด้วยชั้นวางสุดลูกหูลูกตา
ไม่ว่าจะสถาปัตยกรรมแบบเก่าหรือแบบใหม่ก็ชวนให้เราดำดิ่งสู่โลกมหัศจรรย์ ที่นี่เป็นเหมือนแหล่งเสริมสร้างจิตใจและจิตวิญญาณ และนี่คือห้องสมุดที่เราอยากแนะนำให้หนอนหนังสือได้เห็นเป็นขวัญตาสักหน่อย
Abbey Library of St.Gallen, Switzerland
ห้องสมุดที่ได้รับการลงทะเบียนให้เป็นมรดกโลกแห่งนี้อยู่ที่เมืองเซนต์กอลล์ ทางตะวันออกของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เกือบครึ่งของหนังสือมากกว่า 150,000 เล่มมีอายุย้อนไปถึงยุคกลาง บางเล่มถึงกับกล่าวว่ามีอายุมากกว่า 1,000 ปี อาคารถูกปรับปรุงใหม่ในศตวรรษที่ 18 ในสไตล์โรโกโก (Rococo) มีความหรูหราอลังการ ทุกอย่างจะดูกลมกลืนและเป็นหนึ่งเดียว บนเพดานมีภาพวาดที่จะทำให้หนอนหนังสือยังต้องถูกหันเหความสนใจไปหา
The Library of Trinity College Dublin, Ireland
The Library of Trinity College Dublin ประกอบด้วยอาคารห้องสมุดหลายแห่ง แต่ที่โดดเด่นที่สุดคือ Old Library สร้างขึ้นระหว่างปี 1712-1732 ห้องสมุดเก่าแก่นี้เป็นที่ตั้งของห้องยาว 200 ฟุต ตกแต่งด้วยรู้ปปั้นหินอ่อนของนักปรัชญาและนักเขียนชื่อดัง มีหนังสือเก่าแก่ที่สุดของห้องสมุด 200,000 เล่มในตู้หนังสือไม้โอ๊ค รวมถึงสิ่งประดิษฐ์ทางประวัติศาสตร์ และต้นฉบับหนังสือ
Stuttgart City Library, Germany
ห้องสมุดที่มีความโมเดิร์นและเรียบง่ายนี้ เป็นห้องสมุดในเมืองชตุทท์การ์ท ประเทศเยอรมนี เปิดขึ้นในปี 2011 มีลักษณะคล้ายพีระมิดคว่ำ พื้นที่ภายในเปิดโล่ง และบันไดที่เชื่อมระหว่างขั้นห้องสมุดหลายชั้น หนังสือช่วยเพิ่มสีสันและตัดกับการตกแต่งภายในที่เน้นสีขาวทั้งหมด
Tama Art University Library, Japan
หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปะทามะ มีซุ้มคอนกรีตโค้งในสไตล์มินิมอล แต่ตระการตา สะท้อนถึงพื้นที่หลังคาโค้งโบราณ เช่น ห้องเก็บไวน์และห้องสมุดที่มีเรื่องราวมากมาย ได้รับรางวัล Pritzker Architecture Prize ปี 2013 การออกแบบตั้งใจว่าความโค้งจะไหลลื่นไปกับภูมิประเทศภายนอกที่ลาดเอียง ชั้นแรกมีพื้นที่เปิดโล่งสำหรับนิทรรศการศิลปะต่างๆ และมีหนังสือเกือบ 100,000 เล่มบนชั้นสอง
Tianjin Binhai Library, China
ห้องสมุดห้าชั้นนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็น “ดวงตา” เนื่องจากเป็นทรงกลมตรงกลางห้องสมุด ตลอดจนทัศนียภาพอันโดดเด่นจากภายนอกที่คล้ายกับตายักษ์ ที่นั่งโค้งต่อเนื่องและชั้นวางหนังสือจากพื้นจรดเพดานทำให้การเยี่ยมชมห้องสมุดเทียนจินปินไห่ให้ความรู้สึกราวกับว่าคุณกำลังเดินทางผ่านทะเลแห่งหนังสือ พื้นที่ทั้งหมดเก็บหนังสือด้มากกว่าหนึ่งล้านเล่ม แต่จัดเก็บได้เพียง 200,000 เล่มเท่านั้น ความจริงหนังสือส่วนใหญ่ที่เห็นภายในเป็นภาพพิมพ์ของสันหนังสือ เพื่อสร้างภาพลวงตาของชั้นวางหนังสือที่มีสินค้าครบถ้วน
แท็ก
Related Content
อนาคตของตลาดแรงงานในเศรษฐกิจแบ่งปันจะเป็นอย่างไร?
ทุกวันนี้ เราเห็นผู้คนสั่งอาหาร เรียกรถ จองห้องพัก และส…
ชีวิตคือการถูกถามและเรามีหน้าที่คือการยอมรับ
“มันไม่สำคัญเลยว่าชีวิตมนุษย์จะยืนยาวเท่าไร ความยืนยาวไ…
กระบวนการของเซน : จัดดอกไม้ พิธีชงชา จัดสวนเซน แต่งบทกวียูอิเงะ
นี่คือ 4 ประเภทของการรวมเอาศิลปะ งานคราฟต์ ธรรมชาติมาอย…