Self Compassion วันนี้ฉันจะหันกลับมาเคารพตัวเอง
Published : ธันวาคม 2, 2022 | Blog | Editor :
ถ้าความรู้สึกผิดและการไม่ให้อภัยตัวเองเป็นพิษร้ายในร่างกาย แล้วเราจะมอบความเมตตาให้ตัวเองอย่างไรได้บ้าง?
หลายคนคงคุ้นเคยกับคำว่า Self-Esteem หรือความภูมิใจในตัวเองกันมาบ้าง แต่กลับไม่ค่อยได้ยินคำว่า Self-Compassion หรือ การเมตตาต่อตนเอง กันเท่าไรนัก และในหลายกรณีเราแทบไม่เคยมอบสิ่งนี้ให้กับตัวเองด้วยซ้ำ
ความจริงแล้วความรู้สึกผิดทำหน้าที่หลายอย่าง บ่อยครั้งมันช่วยควบคุมความประพฤติ ทว่าหลายครั้งมันกลายเป็นสิ่งสะสมจนนำไปสู่ความหดหู่ และส่งผลกระเพื่อมออกไปได้ทั้งความสุขส่วนตัว ความสัมพันธ์ การงาน และความเป็นอยู่ ดังนั้น เราจึงจำเป็นจะต้องมีเมตตาและเห็นอกเห็นใจตัวเองบ้าง มันเป็น “ความกรุณาและความเอาใจใส่แบบเดียวกับที่เรามอบให้กับเพื่อนคนหนึ่ง”
มาลองฝึกฝน Self-Compassion ไปพร้อมกัน แล้วอย่าลืมหยิบ “ซ่อมแซมสุขที่สึกหรอ” ไว้ติดบ้าน เพื่อป้องกันตัวเองจากใจอักเสบเรื้อรัง
เขียนจดหมายแสดงความเห็นอกเห็นใจ
การวิจัยพบว่าการเขียนจดหมายถึงตัวเองจะสามารถลดอาการซึมเศร้าและเพิ่มความสุขได้ ดังนั้นพยายามเขียนสิ่งที่ดีให้กับตัวเอง พูดกับตัวเองเหมือนคนที่ต้องการการปลอบโยน
ให้กำลังใจตัวเอง
หากมีสิ่งเลวร้ายหรือเจ็บปวดเกิดขึ้นกับคุณ ลองนึกถึงสิ่งที่คุณจะพูดกับเพื่อน ถ้าสิ่งเดียวกันนี้เกิดขึ้นกับเขาหรือเธอ คุณสามารถแสดงออกแบบนั้นกับตัวเองได้
ให้อภัยตัวเอง
บางครั้งเราก็งี่เง่าเพราะรู้สึกผิดที่ทำสิ่งเลวร้ายลงไป แต่เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอดีตได้ สิ่งที่เราทำได้คือขอโทษ (ถ้าจำเป็น) และเดินหน้าต่อไป แม้ว่าจะไม่ง่ายเสมอไป แต่การให้อภัยตัวเองสามารถช่วยให้เรามีความสุขมากขึ้น และก้าวผ่านความยากลำบากไปได้
ในชีวิตเราจะเจอกับความผิดหวังและความผิดพลาดนับไม่ถ้วน ซึ่งถ้าเราเอาแต่โทษตัวเอง คิดว่าตัวเองไม่สมบูรณ์ ก็คงจะจมอยู่กับความรู้สึกผิดไปตลอด ในเมื่อเรามีเมตตาให้คนอื่นได้ เราก็ควรจะมีเมตตาและขอบคุณตัวเองด้วยเหมือนกัน
———————-
-
Product on saleซ่อมแซมสุขที่สึกหรอ
฿329฿280
แท็ก
Related Content
“เกษตรแนวตั้ง” เมื่อโลกอนาคตไร้ที่แนวราบ
ภาวะโลกร้อนยังคุกรุ่นอยู่ทั่วโลก ส่งผลให้หลายพื้นที่ในห…
4 เลเวล เพื่อดีท็อกซ์โซเชียลมีเดีย ล้างพิษไม่พึงประสงค์ออกจากหัวสมองและความรู้สึก
4 เลเวล เพื่อดีท็อกซ์โซเชียลมีเดีย ล้างพิษไม่พึงประสงค์…
ฟ้า-พัชชา ชัยมงคลทรัพย์ เบื้องหลังปก “ชีวิตที่ใช่ ไม่ต้องใช้ทางลัด”
“ชีวิตที่ใช่ ไม่ต้องใช้ทางลัด” ทำให้เกิดคำถ…