เล่าเรื่องในอดีตเพื่อคนปัจจุบัน
Published : มกราคม 16, 2024 | Blog | Editor :
1— เคยสงสัยไหมว่า ผู้คนที่ได้มองเห็นสงครามโลก สงครามเย็น แม้แต่สงครามครูเสดตอนทุกอย่างจบลง จะรู้สึกอย่างไรกับการสู้รบขนานใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นกับอิสราเอล-ปาเลสไตน์ รัสเซีย-ยูเครน ฯลฯ คนในอดีตจะมองพวกเราด้วยสายตาแบบไหน ?
2— มีบางสิ่งที่เราอาจไม่ทันสังเกต กำลังวางตัวสอดคล้องไปการเกิดขึ้นแต่ละเหตุการณ์บนโลก นั่นก็คือการ ‘แปลสาร’ ที่มี ‘ใจความ’ ต่างกันออกไปตามแต่ละยุคสมัย
พูดง่าย ๆ ก็คือ เมื่อ 100 ปีที่แล้ว เหตุการณ์/ชุดความคิด A อาจเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลอย่างยิ่ง แต่ 100 ปีต่อมา เหตุการณ์/ชุดความคิด A ก็กลายเป็นเรื่องประหลาดที่ไม่น่าเชื่อถือแม้แต่น้อย
คนในปัจจุบันมองว่า คนในอดีตทำลงไปได้ยังไง ขณะเดียวกัน ถ้าคนจากอดีตเห็นพวกเราในปัจจุบันก็คงหงุดหงิดกับวิธีคิดของพวกเราไม่น้อย
3— มีตัวอย่างจากหนังสือ #ด้านมืดของพลังแห่งการเล่าเรื่อง ที่จะทำให้ทุกคนเข้าใจประเด็นนี้ง่ายขึ้นอีก
เช่น กรณีที่นาซีเยอรมนีลุกขึ้นมาเป็นหนึ่งในผู้นำสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้สถานการณ์จะไม่สมเหตุสมผลและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวจะโหดร้ายรุนแรงโคตร ๆ สำหรับคนในตอนนี้ แต่ในเวลานั้นสิ่งที่ ‘อดอล์ฟ ฮิตเลอร์’ กล่อมประสาทเยอรมนีทั้งประเทศ ก็คือคำสัญญาว่าจะกอบกู้ชื่อเสียงของประเทศ ความเป็นชาตินิยมอันแข็งแกร่งจะทำให้ประชาชนกลับมามีเรี่ยวแรงได้อีกครั้งหลังความแพ้พ่ายในสงครามโลกครั้งที่ 1
เรียกได้ว่า ต่อให้ตอนนี้เรารู้สึกหดหู่แค่ไหน แต่ตอนนั้นก็มีสาเหตุที่ทำให้โฆษณาชวนเชื่อของนาซีเยอรมนีทรงพลังจนเป็นเครื่องมือชั้นยอดในการทำสงคราม
หรือ ในสงครามครูเสดที่มีการแย่งชิงพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์อย่าง ‘เยรูซาเลม’ ระหว่างชาวคริสต์จากยุโรปกับชาวมุสลิม
สาเหตุมาจากพระสันตะปาปาเออร์บานที่ 2 ประกาศระดมพล ทั้งพระคาร์ดินัล อาร์ชบิชอป บิชอป นักบวชคาทอลิก อัศวินจากทั่วฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมัน และชาวบ้านมารวมตัวกันจำนวนมหาศาล ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปกอบกู้ดินแดนที่ถูกพวกมุสลิมยึดครอง (ในความคิดของพวกเขา)
ในตอนนั้น ‘เยรูซาเลม’ สำคัญมาก กระทั่งก่อให้เกิดสงครามศาสนายาวนานเกือบ 200 ปี
ความหมาย ความดีงาม และศีลธรรมในช่วงเวลานั้น ๆ จึงแตกต่างออกไปตามเรื่องเล่าแห่งยุคสมัย และมันท้าทายพวกเราเสมอ โดยเฉพาะเมื่อเรื่องหนึ่งเรื่องอาจถูก ‘แปล’ กี่ครั้งก็ได้ และอาจจะ ‘แปล’ โดยฮิตเลอร์ พระสันตะปาปาเออร์บานที่ 2 หรือใครก็ได้อีกเช่นกัน
4— ในอีกแง่มุม ความต่างของแนวคิดแต่ละยุคนี้เอง ที่ทำให้อดีตสร้างประโยชน์ให้กับคนในตอนนี้ได้
ในหนังสือ #ถอดประกอบรูปแบบความสำเร็จ ได้อธิบายข้อดีของสิ่งที่ผ่านพ้นไปว่า ความสำเร็จที่กำลังจะเกิดขึ้น ดีขึ้น พัฒนาขึ้นในตอนนี้ก็ล้วนแต่มีการ ‘ลอกเลียนแบบอดีต’ หรือ ‘ปรับปรุงอดีตในส่วนที่แย่’ จนกลายเป็นอะไรใหม่ ๆ ที่เจ๋งกว่าเดิม
ฮิตเลอร์ที่เรากล่าวถึงไปข้างต้นเองก็มี ‘ไอดอล’ ที่เขาถอดเอาวิธีการต่าง ๆ มาปรับใช้ และพัฒนาจนกลายเป็นความสำเร็จของเขาเอง ใครนั้นก็คือ ‘โจเซฟ สตาลิน’ นักปฏิวัติและผู้ปกครองสหภาพโซเวียตในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันกับที่ฮิตเลอร์ปกครองเยอรมันนั่นเอง
5— สรุปก็คือ มุมมองของคนในแต่ละยุคสมัยมักแตกต่างกัน และอดีตก็จะเปลี่ยนร่าง ถูกดัดแปลงให้กลายเป็นอนาคต ดังนั้น หากอดีตปูทางสู่อนาคตที่ดีกว่าก็แล้วไป แต่หากอดีตไม่สามารถช่วยเหลือให้อนาคตทบทวนตัวเองได้ก็คงน่าหดหู่อย่างมาก
1— เหมือนเมื่อครั้งที่สงครามโลก สงครามเย็น หรือสงครามครูเสดสิ้นสุดลง ไม่แน่ว่า หากผู้คนในอดีต ณ ตอนนั้นมองมา พวกเขาอาจผิดหวังท้อแท้กับการเกิดขึ้นของสงครามในเวลานี้ (ซึ่งเป็นอนาคตของตอนนั้น) ก็เป็นได้
-
Product on saleถอดประกอบรูปแบบความสำเร็จ
฿359฿305 -
Product on sale
แท็ก
Related Content
มิลค์ – ณิชารีย์ ผาติทิต ไขความลับของการสังเกต
“นุนชี่ไม่ได้เป็นการสอนตรงๆ ว่า เอาล่ะ วันนี้เราจ…
ความเหงา=การสูบบุหรี่ 15 มวน/วัน อย่าปล่อยให้มันฆ่าคุณ
ความเหงาไม่ต่างอะไรจากโรคระบาด มันส่งถึง ติดต่อ และทำลา…
“อย่าทำตัวเหมือนพวกสตาร์ค” หายนะนุนชี่ในซีรีย์ดัง
“อย่าทำตัวเหมือนพวกสตาร์ค” Game of Thrones …