เลือกตั้งนี้ (2566) อ่านอะไร ?

Published : มิถุนายน 13, 2023 | Blog | Editor :

วันเลือกตั้งใกล้เข้ามาทุกที อย่าลืมตรวจสอบสิทธิ์ในการเลือกตั้ง และเลือกอ่านหนังสือเล่มที่น่าสนใจ ที่จะให้ข้อมูลกับเราในหลายๆ แง่มุมนะคะ

📚 ความถูกต้องอยู่ข้างใคร

ขึ้นชื่อว่าเป็นความคิดทางการเมืองแล้ว ทุกคนสามารถมีจุดยืนที่แตกต่างกันได้ แต่เราจะเข้าใจอีกฝ่ายได้ยังไง ในเมื่อบริบทชีวิตต่างกันขนาดนั้น ?

หนังสือเล่มนี้จะชวนทุกคนมาลองอ่านคำอธิบายในชุดความคิดของแต่ละฝ่าย เพื่อพิสูจน์ว่าจะเป็นไปได้ไหมหากเราอยากเข้าใจแนวคิดที่หลากหลายก่อนแล้วค่อยตัดสิน

📚 คิดแบบเยอรมัน เขาทำกันยังไง

เพื่อจะทำความเข้าใจความคิดและความเชื่อของยุคสมัยปัจจุบัน เราอาจต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์การเมืองและความพ่ายแพ้ในสงครามก่อน

เช่นเดียวกับคนรุ่นใหม่ของประเทศเยอรมัน พวกเขาพยายามยอมรับอดีต เพื่อปลุกปั้นบาดแผลที่มีอยู่ให้กลายเป็นพลังก้าวต่อ และเยอรมันก็กลายเป็นแนวหน้าของโลกในวันนี้

📚 2030 อนาคตอันใกล้ไม่มีอะไรเหมือนเดิม

ปี 2030 ไม่ได้อยู่ห่างไกล และเราต้องเตรียมตัว ‘เลือกอนาคต’ ของเรานับตั้งแต่วันนี้ ให้พร้อมรับความท้าทายและการก้าวต่อไปข้างหน้า

หนังสือเล่มนี้จะเป็นคู่มือที่ช่วยบอกใบ้ ไม่ว่าเส้นทางและกาลเวลาจะพาเราไปสู่อะไรก็ตาม

📚 ความถูกต้องอยู่ข้างใคร

ขึ้นชื่อว่าเป็นความคิดทางการเมืองแล้ว ทุกคนสามารถมีจุดยืนที่แตกต่างกันได้ แต่เราจะเข้าใจอีกฝ่ายได้ยังไง ในเมื่อบริบทชีวิตต่างกันขนาดนั้น ?

ในหนังสือที่ถูกเขียนขึ้นจากการวิจัยด้านจิตวิทยาศีลธรรมใหม่ล่าสุดที่จัดทำมายาวนานกว่า 25 ปีเล่มนี้ ไฮดต์แสดงให้เห็นว่าการตัดสินทางศีลธรรมของคนเรานั้นไม่ได้มีพื้นฐานมาจากเหตุและผล หากแต่มาจากความรู้สึกและสัญชาตญาณ

ไฮดต์ยังอธิบายด้วยว่าทำไมพวกเสรีนิยม, พวกอนุรักษนิยม, และพวกอิสรนิยม จึงมีสัญชาตญาณเกี่ยวกับความถูกผิดที่แตกต่างกันมากเหลือเกิน และยังแสดงให้เห็นอีกว่าเอาเข้าจริงแล้ว ทุกฝ่ายต่างก็มีส่วนที่ถูกอยู่เสมอ

และไฮดต์ยังได้หยิบยกการวิจัยล่าสุดด้านประสาทวิทยา พันธุกรรมศาสตร์ จิตวิทยาสังคม และแบบจำลองวิวัฒนาการ มาร่วมอธิบายอีกด้วย

อยากชวนทุกคนมาลองอ่านคำอธิบายในชุดความคิดของแต่ละฝ่าย เพื่อพิสูจน์ว่าจะเป็นไปได้ไหมหากเราอยากเข้าใจแนวคิดที่หลากหลายก่อนแล้วค่อยตัดสิน

📚 คิดแบบเยอรมัน เขาทำกันยังไง

เพื่อจะทำความเข้าใจความคิดและความเชื่อของยุคสมัยปัจจุบัน เราอาจต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์การเมืองและความพ่ายแพ้ในสงครามก่อน

เช่นเดียวกับคนรุ่นใหม่ของประเทศเยอรมัน พวกเขาพยายามยอมรับอดีต เพื่อปลุกปั้นบาดแผลที่มีอยู่ให้กลายเป็นพลังก้าวต่อ และเยอรมันก็กลายเป็นแนวหน้าของโลกในวันนี้

ในปี ค.ศ.1968 ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญครั้งที่สอง เพราะเกิดการก่อการร้ายในประเทศแต่เยอรมนีก็เอาชนะ และทำให้ประชาธิปไตยเบ่งบานในประเทศ ในปี 1989 คือเหตุการณ์ที่โลกไม่เคยลืมเมื่อกำแพงเบอร์ลินล่มสลายและเกิดการรวมชาติ

และในปี 2015 คือวิกฤตผู้ลี้ภัยที่นายกรัฐมนตรีของเยอรมนีตัดสินใจ เปิดประตูให้คลื่นมนุษย์หลั่งไหลเข้ามาในประเทศ ก่อให้เกิดบทเรียนราคาแพงทางการเมือง บาดแผลสังคม และความเห็นที่แตกแยกทางการเมือง

แต่เยอรมนีก็ยังคงยืนเด่นตระหง่าน แม้จะเป็นประเทศที่เพื่อนบ้านยุโรปด้วยกันทั้งรักทั้งเกลียด แต่ก็ไม่มีใครปฏิเสธว่าเยอรมนีคือประเทศต้นแบบในโลกนี้

นอกจากนี้ ในเล่มผู้เขียนยังนำบทสัมภาษณ์ของผู้คนที่ได้พบเจอ ประสบการณ์ตรง และหลักฐานอ้างอิงมาร้อยเรียง เพื่อคลี่ให้เห็นถึงความเป็นเยอรมันที่ใครๆ ต่างก็ตั้งคำถามว่า ทำไมเยอรมันถึงทำได้ดีกว่าคนอื่น

📚 2030 อนาคตอันใกล้ไม่มีอะไรเหมือนเดิม

ปี 2030 ไม่ได้อยู่ห่างไกล และเราต้องเตรียมตัว ‘เลือกอนาคต’ ของเรานับตั้งแต่วันนี้

หนังสือเล่มนี้จะนำเสนอแนวทางที่ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจนัยสำคัญของสถานการณ์อันซับซ้อนที่มีตัวแปรมากมาย และยังสื่อสารเรื่องอนาคตในแง่ดี

เมาโรยังวิเคราะห์ถึงโลกภายหลังการระบาดของโควิด-19 ว่าจะยิ่งส่งเสริมและยกระดับแนวโน้มสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในปี 2030 เพิ่มมากขึ้น

แต่คำถามสำคัญที่มนุษยชาติต้องถามตัวเอง คือ วิกฤตที่ยังมองไม่เห็นครั้งต่อไปจะทำให้เรามีความพร้อมมากขึ้นแค่ไหน

ในบทส่งท้ายของเล่มนี้จึงนำเสนอหลักการและวิธีการที่เราสามารถนำมาใช้เพื่อทำความเข้าใจแนวโน้มอนาคต และประสบความสำเร็จจากการคว้าโอกาสที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วงชีวิตของเราในอีกไม่นานนี้

หนังสือเล่มนี้จะเป็นคู่มือที่ช่วยบอกใบ้อนาคตข้างหน้า ไม่ว่าเส้นทางและกาลเวลาจะพาเราไปสู่อะไรก็ตาม

แท็ก


Related Content